สิงห์บุรี
Singburi .org



Ambassador's Residence or Vichayen House
Originally constructed by King Narai as a residence for Chevalier de Chaumont, the first French ambassador to Thailand, Vichayen House's most famous resident was actually Constantine Phaulkon, a Greek advisor to the king.
บ้านหลวงรับราชทูตหรือบ้านวิชาเยนทร์

“บ้านวิชาเยนทร์” หรือ
“บ้านหลวงรับราชทูต” ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของพระนารายณ์ราชนิเวศน์ สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เนื่องจากสถานการณ์ที่นี้เป็นที่พำนักของ เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ขุนนางสำคัญในสมัยนั้น จึงได้ชื่อว่า “บ้านวิชาเยนทร์”

นอกจากนี้เนื่องจากเมื่อครั้งทูตจากประเทศฝรั่งเศสชุดแรกที่เข้ามาเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๒๘ ก็ได้พัก ณ สถานที่แห่งนี้ จึงได้ชื่อว่า “บ้านหลวงรับราชทูต” อีกชื่อหนึ่ง.
(อ.จำรัส เกียรติก้อง วาดภาพจากต้นฉบับ พ.ศ. ๒๕๐๙



พื้นที่ในบริเวณบ้านหลวงรับราชทูต แบ่งเป็น ๓ ส่วน สังเกตได้จากประตูเข้าด้านหน้าซึ่งสร้างไว้สำหรับเป็นทางเข้า-ออก แต่ละส่วน คือ ส่วนทิศตะวันตกส่วนกลาง และส่วนทางทิศตะวันออก
ทางด้านทิศตะวันตกเป็นกลุ่มอาคาร ได้แก่ ตึก ๒ ชั้น หลังใหญ่ก่อด้วยอิฐ และอาคารชั้นเดียว แคบยาว ซุ้มประตูทางเข้าเป็นรูปโค้งค รึ่งวงกลม ส่วนกลางมีอาคารสำคัญ คือ ฐานของสิ่งก่อสร้าง ซึ่งเข้าใจว่าเป็นหอระฆังและโบสถ์คริสต์ศาสนาซึ่งอยู่ทางด้านหลัง ซุ้มประตูทางเข้าเป็นรูปจั่ว

ส่วนทิศตะวันออก ได้แก่ กลุ่มอาคารใหญ่ ๒ ชั้น มีบันไดขึ้นทางด้านหน้าเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม ซุ้มประตูทางเข้ามีลักษณะเช่นเดียวกั บทางทิศตะวันตก ด้วยเหตุที่มีสิ่งก่อสร้างหลายหลังดังกล่าว จึงต้องสันนิษฐานว่าส่วนใดเป็นที่พำนักของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ และส่วนใดเป็นที่พำนักของคณะทูตชาวฝรั่งเศส จากแผนผังบริเวณบ้านวิชาเยนทร์พบว่า ส่วนกลางและส่วนทางทิศตะวันออก มีสิ่งก่อสร้างซึ่งถูกสร้างขึ้นให้มีความสัมพันธ์กัน คือ โบสถ์และตึกหลังใหญ่ ๒ ชั้น และได้รับการก่อสร้างอย่างมั่นคงแข็งแรง ดูสวยงาม บริเวณดังกล่าวจึงควรเหมาะสมใช้เป็นที่ต้อนรับทูตชาวต่าง ประเทศ
โบสถ์คริสต์ศาสนา คงใช้เป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนาของบาทหลวงคณะเจซูอิด ซึ่งเข้ามาพร้อมกับคณะทูตหลายรูป ส่วนอาคารบริเวณทางทิศตะวันตก คงเป็นที่พักอาศัยของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์
ลักษณะของสถาปัตยกรรมในบ้านวิชาเยนทร์ บางหลังเป็นแบบยุโรปอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอาคารใหญ่ทางทิศตะวันออก
ก่ออิฐถือปูนสูง ๒ ชั้น หน้าต่างและซุ้มประตูของอาคารแสดงให้เห็นลักษณะศิลปะตะวันตกแบบเรอเนสซองค์
ซึ่งแพร่หลายในระยะเวลาเดียวกัน ที่สำคัญอีก คือ อาคารที่เป็นโบสถ์คริสต์ศาสนา ผังและแบบของโบสถ์
เป็นแบบยุโรป มีซุ้มประตู หน้าต่าง เป็นซุ้มเรือนแก้ว มีเสาปลายเป็นรูปกลีบบัวยาว
ซึ่งเป็นศิลปะแบบไทย ถือว่าเป็นโบสถ์คริสต์ศาสนาหลังแรกในโลก ที่ตกแต่งด้วยลักษณะของโบสถ์ทางพระพุทธศาสนา
เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) เป็นนักผจญภัยชาวกรีก ผู้กลายมาเป็นสมุหนายกในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เกิดที่แคว้นเซฟาโลเนีย (ประเทศกรีซ) เมื่อ ค.ศ. ๑๖๔๗ (พ.ศ. ๒๑๙๐) โดยมีเชื้อสายของชาวกรีกและเวนิช เข้าทำงานให้กับบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ
![]() | ![]() | ![]() |
---|---|---|
![]() | ![]() | ![]() |
![]() | ![]() |
ค.ศ. ๑๖๖๒ (พ.ศ. ๒๒๐๕) ฟอนคอนออกจากบ้าน และเดินเรือสินค้าไปค้าขายยังแดนต่างๆ ค.ศ. ๑๖๗๕ (พ.ศ. ๒๒๑๘)
เดินทางมายังสยามในฐานะพ่อค้า เนื่องจากมีความสามารถพิเศษในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศอย่างง่ายดาย
นอกจากภาษากรีกแล้ว ฟอลคอนมีความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโปรตุเกส ฯลฯ
และเรียนรู้การใช้ภาษาไทยอย่างคล่องแคล่วในเวลากี่ปี
ต่อมา ฟอลคอนเข้ารับราชการในราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในตำแหน่งล่าม และเป็นตัวกลางการค้าระหว่างอยุธยากับฝรั่งเศส จนกระทั่งได้กลายมาเป็นสมุหเสนา ในสมัยพระนารายณ์มหาราชในเวลาอันรวดเร็ว
เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ หรือ คอนสแตนติน ฟอลคอน จึงนับเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่เข้ามารับราชการในสมัยอยุธยา...
บ้านวิชาเยนทร์ เปิดบริการให้เข้าชมระหว่างเวลา 08.00 - 18.00 น.
เว้นวันจันทร์-อังคารอัตราเข้าชม ชาวไทย 10.-บาท ชาวต่างประเทศ 30.-บาท
