top of page

อ่างทอง

อ่างทอง มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญมากมายทั้งทางประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต และภูมิปัญญาชาวบ้านปัจจุบันอ่างทองอุดมไปด้วยงานหัตถกรรมท้องถิ่น

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

จังหวัดชัยนาท

สวนนกชัยนาท

 

ภายในกรงนกเป็นสถานที่จัดแสดงนกพันธุ์ต่าง ๆ  มากมาย โดยจะปล่อยไห้อยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งมีนกกว่า 100 ชนิด เป็นนกชนิดที่มีในประเทศและนกที่นำมาจากต่างประเทศ

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

จังหวัดชัยนาท

สวนนกชัยนาท

 

ภายในกรงนกเป็นสถานที่จัดแสดงนกพันธุ์ต่าง ๆ  มากมาย โดยจะปล่อยไห้อยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งมีนกกว่า 100 ชนิด เป็นนกชนิดที่มีในประเทศและนกที่นำมาจากต่างประเทศ

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

จังหวัดชัยนาท

สวนนกชัยนาท

 

ภายในกรงนกเป็นสถานที่จัดแสดงนกพันธุ์ต่าง ๆ  มากมาย โดยจะปล่อยไห้อยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งมีนกกว่า 100 ชนิด เป็นนกชนิดที่มีในประเทศและนกที่นำมาจากต่างประเทศ

ฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ  จังหวัดอ่างทอง

พระราชดำร  สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

แนวพระราชดำริ

     สืบเนื่องจากการที่ พื้นที่ในภาคกลางของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดอ่างทองถูกน้ำท่วม เกือบทั้งจังหวัด ทำให้ประชาชนเกิดความยากลำบาก ไม่มีที่พักทำให้ต้องขึ้นมาอยู่บนถนน พื้นที่ทำมาหากินเสียหาย ไม่มีงานทำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ 

ทรงห่วงใยประชาชนดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมเด็จพระบรมราชินีนาถได้พระราชทานกระแสรับสั่งให้สมุหราชองครักษ์ คือ พลเอกนฤพล บุญทับ และรองเลขานุการในพระองค์ นายสหัส บุญญาวิวัฒน์ พร้อมคณะ และคณะเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการต่างๆ จัดหาและดำเนินการ พื้นที่ทำฟาร์มตัวอย่างให้เกษตรกรได้พักอาศัยขณะน้ำท่วม มีอาหาร รายได้ และเป็นจุดเรียนรู้ขึ้น ที่ตำบลโพธิ์สระ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง พื้นที่ 36 ไร่

          เมื่องานเสร็จสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมโครงการฟาร์มตัวอย่าง ตามพระราชดำริ จังหวัดอ่างทอง ตำบลโพธิ์สระ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ในวันพฤหัสบดีที่ 28 ธันวาคม 2549 ทรงพอพระทัยมาก แต่มีพระราชดำริว่าพื้นที่เล็กไป อยากให้ดำเนินการในพื้นที่มากกว่านี้เพื่อให้เป็นตัวอย่างของฟาร์มตัวอย่างในภาคกลาง

 ดังนั้น จังหวัดอ่างทอง โดยผู้ว่าราชการจังหวัด และเจ้าหน้าที่ร่วมกับสมุหราชองครักษ์ พลเอกนฤพล บุญทับ รองราชเลขานุการในพระองค์ นายสหัส บุญญาวิวัฒน์ และคณะ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 กรมพัฒนาที่ดิน สถานีพัฒนาที่ดินอ่างทอง สถานีพัฒนาที่ดินปทุมธานี หน่วยงานในจังหวัดอ่างทอง ประชุมดำเนินการจัดหาพื้นที่ และดำเนินการตามพระราชประสงค์ในวันที่ 5 มกราคม 2550 ที่ศาลากลางจังหวัดอ่างทอง พร้อมทั้งเข้าชี้แจงวัตถุประสงค์แก่หน่วยงานในท้องถิ่นและเกษตรกรในพื้นที่ คัดเลือกพื้นที่ราชพัสดุที่ หมู่ 3 ตำบลสีบัวทอง อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง พื้นที่ประมาณ 1,053 ไร่เศษ เป็นพื้นที่ดำเนินการตามพระราชประสงค์
         ทั้งนี้โครงการฟาร์มตัวอย่างได้ดำเนินงานเพื่อที่จะตอบแทนลูกหลานของวีรชนบ้านบางระจัน ได้แก่ นายแท่น นายเมือง นายอิน และนายโชติ ซึ่งเป็นวีรชนจากอำเภอแสวงหาแห่งนี้ที่ได้พลีชีพรักษาบ้านเมืองของเราไว้ให้ลูกหลานชาวไทยในปัจจุบัน ทำฟาร์มตัวอย่างให้เกิดผลผลิตและสร้างงานในลักษณะเกษตรอินทรีย์ในด้านการเกษตร ปศุสัตว์ และประมง ให้เป็นจุดเรียนรู้ เป็นแหล่งผลิตอาหาร (Food bank) ที่ปลอดภัยจากสารพิษในการเลี้ยงประชากร ฟาร์มตัวอย่างสามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรทำให้ชาวบ้านมีรายได้ โดยการดำเนินการต้องไม่ทำให้ประชาชนเดือนร้อน

วัตถุประสงค์

          1. เพื่อเป็นแหล่งจ้างแรงงานของราษฎรโดยให้ราษฎรที่ประสบอุทกภัยและยังไม่สามารถกลับไปประกอบอาชีพในที่ดินของตน เนื่องจากน้ำท่วมขังรวมทั้งประชาชนในพื้นที่ ตำบล สีบัวทองและบริเวณใกล้เคียงได้เข้ามาทำงานในฟาร์มตัวอย่างให้มีงานทำ มีรายได้ สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัว
         2. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงปฏิบัติด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมครัวเรือนของราษฎรให้สามารถดำเนินการได้ผลผลิตจำนวนมากอย่างถูกหลักวิชาการและปลอดภัยต่อสุขภาพ
         3. เพื่อเป็นแหล่งผลิตอาหาร เป็นธนาคารอาหารชุมชน (Food Bank) สำหรับผลิตอาหารปลอดภัยต่อสุขภาพ ราคาถูก หาซื้อได้ในท้องถิ่น ตลอดจนขยายผลไปสู่การค้าและประชาชนในพื้นที่ทั่วไปโดยไม่เน้นผลกำไร
        4.เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ “ฟาร์มตัวอย่างของภาคกลาง” ทั้งนี้ พื้นที่ตำบลสีบัวทองเป็นที่ราชพัสดุ มีพื้นที่จำนวนมากทำเลเหมาะสมและคุณสมบัติของดินมีศักยภาพเหมาะกับการทำการเกษตร
       5. เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านการเกษตร และแหล่งท่องเที่ยว เชิงประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดอ่างทอง

เป้าหมาย

 1. ราษฎรในพื้นที่โครงการ และใกล้เคียงมีความเป็นอยู่ที่ดีมีรายได้เลี้ยงครอบครัว ในยามที่เกิดอุทกภัย และสภาวะปกติเพื่อประโยชน์ต่อสังคม

 2. ให้ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับสภาพพื้นที่แก่ราษฎรที่เข้าร่วมโครงการฯ และบุคคลทั่วไปจากการลงมือทำจริง

 3. ผลิตพืชผลทางการเกษตรที่ปลอดภัยจากสารพิษเพื่อชุมชนและราษฎรทั่วไปผู้ได้รับประโยชน์ ราษฎรในพื้นที่ตำบลสีบัวทอง และบริเวณใกล้เคียง

โครงสร้างการบริหาร

        ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ ที่เป็นชุดโครงสร้าง 3 คน ร่วมกับคณะกรรมการบริหารงานโครงการฯ จำนวน  22  คน  สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น  169  คน แบ่งเป็นชาย  72  คน   หญิง   119 คน และเจ้าหน้าที่ทหาร จาก มลฑลทหารบกที่ 13 ดูแลความเรียบร้อย จำนวน 2 นาย

การดำเนินงาน และกิจกรรมภายในโครงการฯ

 1. กิจกรรมพืชผัก 

 สมาชิกในกิจกรรม  จำนวน 81 คน พื้นที่ใช้สอยทั้งสิ้น 51 ไร่   พืชผักที่ปลูกประกอบด้วย

1. บวบ ปลูกในพื้นที่ 2 ไร่ จำนวน 3 รุ่น/ปี ผลผลิตที่ได้ 3,000 กิโลกรัม/รุ่น

2. ถั่วฝักยาว ปลูกในพื้นที่ 2.5 ไร่ จำนวน 3 รุ่น/ปี ผลผลิตที่ได้ 2,000 กิโลกรัม/รุ่น

3. ดอกสลิด ปลูกในพื้นที่ 3 งาน จำนวน 1 รุ่น/ปี ผลผลิตที่ได้ 500 กิโลกรัม/ปี 

4. ข้าวโพดหวาน  ปลูกในพื้นที่ 4 ไร่ จำนวน 48 รุ่น/ปี ผลผลิตที่ได้ 6,000 กิโลกรัม/ปี
5. พริกขี้หนูและพริกอ่อน  ปลูกในพื้นที่ 2 งาน จำนวนรุ่นที่ปลูก 1 รุ่น/ปี  ผลผลิตที่ได้ 900 กิโลกรัม/ปี

6. มะเขือเปราะ  ปลูกในพื้นที่ 1 งาน จำนวน 1 รุ่น/ปี   ผลผลิตที่ได้ 700 กิโลกรัม/ปี

7. ดอกชมจันทร์  ปลูกในพื้นที่ 3 งาน จำนวน 2 รุ่น/ปี   ผลผลิตที่ได้ 400 กิโลกรัม/ปี

8. ผักบุ้งจีน   ปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ 3 งาน จำนวน 48 รุ่น/ปี   ผลผลิตที่ได้ 400 กิโลกรัม/รุ่น

9. กระเจี๊ยบ   ปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ 1 งาน จำนวนรุ่นที่ปลูก 4 รุ่น ผลผลิตที่ได้ 3,000 กิโลกรัม/ปี

10. แตงกวา ปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ 3 งาน จำนวนรุ่นที่ปลูก 4 รุ่น/ปี ผลผลิตที่ได้ 2,000 กิโลกรัม/รุ่น

11. กุ่ยช่ายเขียว  ปลูกในพื้นที่ 3 งาน จำนวนรุ่นที่ปลูก 1 รุ่น/ปี ผลผลิตที่ได้ 3,000 กิโลกรัม/ปี

12. กุ่ยช่ายขาว   ปลูกในพื้นที่ 3 งาน จำนวนรุ่นที่ปลูก 1 รุ่น/ปี ผลผลิตที่ได้ 400 กิโลกรัม/ปี

13. ผักหวานบ้าน ปลูกในพื้นที่ 2 งาน จำนวนรุ่นที่ปลูก 1 รุ่น/ปี ผลผลิตที่ได้ 300 กิโลกรัม/ปี

14. ผักวอร์เตอร์เครทเขียว  ปลูกในพื้นที่ 2 งาน จำนวน 1 รุ่น/ปี ผลผลิตที่ได้ 1,000 กิโลกรัม/ปี

 

2. กิจกรรมไม้ผล 

 สมาชิกในกิจกรรม  จำนวน  16 คน ไม้ผลที่ปลูกในพื้นที่ ได้แก่ 

1. มะละกอ ได้แก่ พันธุ์เรดเรดี้  พันธุ์ฮอลแลนด์ พันธุ์แขกดำ

2. กระท้อน ได้แก่ พันธุ์ปุยฝ้าย พันธุ์อีร่า

3. มะยงชิด ได้แก่ พันธุ์ทูลเกล้า พันธุ์ไข่

4. มะม่วง ได้แก่  พันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง  พันธุ์มหาชนก  พันธุ์อกร่องทอง  พันธุ์ทองดำ 

 

พันธุ์พิมเสนมัน

5. ฝรั่ง  ได้แก่  พันธุ์กลมสาลี่  พันธุ์แป้นสีทอง  พันธุ์กิมจู

6. มะนาว  ได้แก่  พันธุ์แป้น

7. มะพร้าวน้ำหอม

 

3.กิจกรรมปศุสัตว์

 สมาชิกในกิจกรรม 30 คน  สัตว์ที่เลี้ยง ประกอบด้วย

1. ไก่ไข่ ที่เลี้ยงจำนวน 1,000 ตัว ผลผลิตที่ได้เฉลี่ย 800 ฟอง/วัน

2. เป็ดอีเหลี้ยง จำนวน 400 ตัว/เดือน 4,800 ตัว/ปี

3. สุกรจินหัว พันธุ์แท้ 24 ตัว สุกรลูกผสมจินหัว ลาร์จไวท์ ดูร็อค 

4. การเลี้ยงแพะนมและแพะเนื้อ พื่อผลิตน้ำนมและพันธุ์สัตว์

เพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกร ปัจจุบันโครงการมีแพะทั้งหมด 250 ตัว

 

4.กิจกรรมประมง

 สมาชิกในกิจกรรม  7 คน  พื้นที่ใช้สอยทั้งสิ้น 44 ไร่ สัตว์น้ำที่เลี้ยง  ได้แก่

- ปลานิล   จำนวน 2 บ่อ

- ปลาตะเพียน   จำนวน 2 บ่อ

- ปลาสลิด   จำนวน 2 บ่อ

- ปลาดุก   จำนวน 2 บ่อ

- กบ ในบ่อซีเมนต์  จำนวน 20 บ่อ 

 

5.กิจกรรมนาข้าว

 แปลงปลูกข้าวพันธุ์ เพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกร โดยเน้นคุณภาพและราคาที่ถูก ได้แก่ พันธุ์ กข 31

- ผลผลิตที่ได้  3,815 ถัง/รุ่น ( 2 ครั้ง/ปี ) 

 

6.กิจกรรมแปรรูป

 สมาชิกในกิจกรรม 6 คน  ผลผลิตที่แปรรูป มีดังนี้

- นมแพะ จำนวน 350 ขวด/สัปดาห์ 

- น้ำสมุนไพร จำนวน  410 ขวด/สัปดาห์

- น้ำลูกหม่อน จำนวน 100 ขวด/สัปดาห์

- กล้วยตาก 100 กล่อง/เดือน

- ชาใบหม่อน 40 ถุง/เดือน 

- ชาดอกอัญชัน 40 ถุง/เดือน

- ชาตะไคร้ 40 ถุง/เดือน 

- ฝรั่งแช่บ๊วย 20 กล่อง/สัปดาห์

- ปลาที่เลี้ยงในโครงการส่วนหนึ่งจะนำมา
แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ปลาเค็ม ปลาร้า ปลาส้ม

bottom of page