top of page
messageImage_1669892995075_edited.jpg
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

จังหวัดชัยนาท

สวนนกชัยนาท

 

ภายในกรงนกเป็นสถานที่จัดแสดงนกพันธุ์ต่าง ๆ  มากมาย โดยจะปล่อยไห้อยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งมีนกกว่า 100 ชนิด เป็นนกชนิดที่มีในประเทศและนกที่นำมาจากต่างประเทศ

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

จังหวัดชัยนาท

สวนนกชัยนาท

 

ภายในกรงนกเป็นสถานที่จัดแสดงนกพันธุ์ต่าง ๆ  มากมาย โดยจะปล่อยไห้อยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งมีนกกว่า 100 ชนิด เป็นนกชนิดที่มีในประเทศและนกที่นำมาจากต่างประเทศ

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

จังหวัดชัยนาท

สวนนกชัยนาท

 

ภายในกรงนกเป็นสถานที่จัดแสดงนกพันธุ์ต่าง ๆ  มากมาย โดยจะปล่อยไห้อยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งมีนกกว่า 100 ชนิด เป็นนกชนิดที่มีในประเทศและนกที่นำมาจากต่างประเทศ

วัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง

            วัดไชโยวรวิหาร หรือ วัดเกษไชโย ห่างจากอำเภอเมืองอ่างทองประมาณ 18 กิโลเมตร อยู่บนเส้นทางสายอ่างทอง-สิงห์บุรีด้านตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฏร์สร้างมาแต่ครั้งใดไม่ปรากฏ มีความสำคัญขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

        แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี ได้ขึ้นมาสร้างพระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่หรือหลวงพ่อโตไว้กลางแจ้ง องค์เป็นปูนขาวไม่ปิดทอง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จฯ มานมัสการและโปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโยขึ้นเมื่อ พ.ศ.2430 แต่แรงสั่นสะเทือนระหว่างการลงรากพระวิหารทำให้องค์หลวงพ่อโตพังลงมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหลวงพ่อโตขึ้นใหม่ตามแบบหลวงพ่อโต วัดกัลยาณมิตร มีขนาดหน้าตักกว้าง 8 วา 6 นิ้ว สูง (สุดยอดรัศมีพระ) 11 วา 1 ศอก 7 นิ้ว และพระราชทานนามว่า พระมหาพุทธพิมพ์ มีการจัดงานฉลองซึ่งนับเป็นงานใหญ่ที่สุดของจังหวัดอ่างทองในสมัยนั้นและในวิหารที่หันหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาประดิษฐานรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ขนาดหน้าตักกว้าง 5 เมตร สูง 7 เมตร สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2437

 องค์หลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่ในพระวิหารที่มีความสูงใหญ่สง่างามแปลกตากว่าวิหารแห่งอื่นๆ พุทธศาสนิกชนจากที่ต่างๆ มานมัสการอย่างไม่ขาดสาย ติดกับด้านหน้าพระวิหาร มีพระอุโบสถก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมไทยอันงดงามหันด้านหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 5 ประดิษฐานรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี ปัจจุบันวัดไชโยวรวิหารได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่จนมีความงามสมบูรณ์ยิ่ง

ทางเดินสู่วิหารวัดไชโย เมื่อเดินทางมาถึงลานจอดรถของวัดจะมองเห็นวิหารขนาดใหญ่ประมาณเกินตึก 4 ชั้น (ซึ่งไม่ได้ถ่ายรูปนั้นมา) จะเป็นด้านหลังของวิหาร การเดินเข้าสู่ภายในวิหารเพื่อสักการะพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในวิหารจะต้องเดินเข้ามาทางนี้ ซึ่งมีกองอำนวยการของวัดคอยอำนวยความสะดวกให้ และมีการประกาศข้อมูลต่างๆ ที่ควรทราบอยู่ตลอดเวลา

ป้ายบอกทาง ข้างประตูกำแพงวิหาร สถานที่ที่น่าสนใจของวัดไชโยได้แก่
วิหารหลวงพ่อพระมหาพุทธพิมพ์
พระอุโบสถ พระบรมสารีริกธาตุ
ศาลาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕
ศาลาพระแม่กวนอิม
วิหารสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรมรังสี
ซึ่งสำหรับทริปนี้จะนำทุกท่านเข้าชมในวิหารหลวงพ่อพระมหาพุทธพิมพ์ และพระอุโบสถกันก่อน ไว้จะนำภาพส่วนอื่นๆ มาเพิ่มเติมให้อีกเรื่อยๆ ครับ

ซุ้มประตูกำแพง เป็นกำแพงล้อมรอบ ภายในมีวิหารหลวงพ่อพระมหาพุทธพิมพ์ และพระอุโบสถ อยู่ติดกันโดยมีพระอุโบสถอยู่ด้านหน้า ระหว่างกลางของพระอุโบสถและวิหารมีทางเดินหลังคาคลุม โดยหลังคามีความสูงมาก

ทางเดินระหว่างวิหารและพระอุโบสถ เนื่องจากวิหารหลังนี้ภายในประดิษฐานหลวงพ่อพระมหาพุทธพิมพ์ ซึ่งมีขนาดใหญ่มาก ทำให้ทางเดินดูแคบลงเนื่องจากหลังคาที่สูงมากนั่นเอง

พระพุทธมหาพิมพ์ เดิมเป็นวัดราษฏร์สร้างมาแต่ครั้งใดไม่ปรากฏ มีความสำคัญขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี ได้ขึ้นมาสร้างพระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่หรือหลวงพ่อโตไว้กลางแจ้ง องค์เป็นปูนขาวไม่ปิดทอง
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จฯ มานมัสการและโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโยขึ้นเมื่อ พ.ศ.2430 แต่แรงสั่นสะเทือนระหว่างการลงรากพระวิหารทำให้องค์หลวงพ่อโตพังลงมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหลวงพ่อโตขึ้นใหม่ตามแบบหลวงพ่อโต วัดกัลยาณมิตร มีขนาดหน้าตักกว้าง 8 วา 6 นิ้ว สูง (สุดยอดรัศมีพระ) 11 วา 1 ศอก 7 นิ้ว และพระราชทานนามว่า พระมหาพุทธพิมพ์ มีการจัดงานฉลองซึ่งนับเป็นงานใหญ่ที่สุดของจังหวัดอ่างทองในสมัยนั้นและในวิหารที่หันหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาประดิษฐานรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ขนาดหน้าตักกว้าง 5 เมตร สูง 7 เมตร สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2437

พระพุทธมหาพิมพ์ องค์หลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่ในพระวิหารที่มีความสูงใหญ่สง่างามแปลกตากว่าวิหารแห่งอื่นๆ พุทธศาสนิกชนจากที่ต่างๆ มานมัสการอย่างไม่ขาดสาย ติดกับด้านหน้าพระวิหาร มีพระอุโบสถก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมไทยอันงดงามหันด้านหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 5 ประดิษฐานรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี ปัจจุบันวัดไชโยวรวิหารได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่จนมีความงามสมบูรณ์ยิ่ง

พระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ ภายในพระอุโบสถวัดไชโยแม้ว่าจะเปิดประตูและหน้าต่าง แต่ภายในก็ยังมีสภาพแสงที่เข้ามาค่อนข้างน้อยมาก เมื่อเดินเข้าไปภายในจะรู้สึกมืด

ระฆังบนระเบียง ที่รอบพระอุโบสถมีระเบียงทางเดินสามารถขึ้นลงด้านหน้าหรือด้านหลังโดยการเดินรอบพระอุโบสถก็ได้ ที่มุมของระเบียงแขวนระฆังไว้สำหรับให้ประชาชนได้ตีระฆังตามความเชื่อ

 ประตูวิหารหลวงพ่อพระมหาพุทธพิมพ์ เมื่อนมัสการสักการะพระพุทธรูปในพระอุโบสภแล้วเดินมาด้านหลังตรงทางเดินระหว่างวิหารกับพระอุโบสถจะมองเห็นหลวงพ่อพระมหาพุทธพิมพ์ได้เพียงส่วนเดียวไม่ถึงครึ่งองค์ ผ่านช่องประตูเข้า-ออกวิหารซึ่งมีอยู่ 2 ด้าน ซ้ายและขวา ภายในมีประชาชนเดินทางมาเพื่อนมัสการพระมหาพุทธพิมพ์หนาแน่นเป็นระยะๆ สำหรับภาพของสถานที่นี้ต้องเอาไว้เพียงเท่านี้ก่อน โอกาสหน้าหากได้เดินทางไปกราบหลวงพ่อมหาพุทธพิมพ์อีกจะเอาภาพมาอัพเดตต่อไปครัับ

bottom of page